วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์(โสตทัศนูปกรณ์)

ความหมายของโสตทัศนูปกรณ์
                โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึงอุปกรณ์ที่มีลักษณะใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องยนต์ กลไกลไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายเนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี  โสตทัศนูปกรณ์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Audio-Visual Equipments และมาจากคำประสมดังนี้
โสตะ (การได้ยิน)    +    ทัศนะ (การมองเห็น)    +    อุปกรณ์
ประเภทของสื่ออุปกรณ์
                สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.เครื่องฉาย (Projectors)
2.เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (connected Equipment)
3.เครื่องเสียง (Amplifiers)

1.เครื่องฉาย

      เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียงเครื่องฉายเครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ เครื่องฉายที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector)  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายแอลซีดี (LCD projector) เครื่องฉายสไลด์ (slide projector) นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เป็นต้น
1.ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
                เครื่องฉายทุกชนิดที่ไม่ใช่เครื่องฉายแปลงสัญญาณ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
2) ตัวอย่างเครื่องฉาย
               2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ
เป็นเครื่องมือที่ใช้กับผู้เรียนการสอนมาเป็นเวลานานมีหลายรูปแบบปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่อย่างแพร่หลายในสถานศึกษาทั่วไป
               2.2 เครื่องฉายสไลด์
                เครื่องฉายสไลด์ เป็นทัศนูปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนหรือถ่ายทอดความรู้มาเป็นเวลานานได้แก่ เครื่องฉายสไลด์แบบฉายทีละภาพ และเครื่องฉายสไลด์แบบบรรจุภาพใส่ถาด
                 2.3 เครื่องฉายแอลซีดี
                เครื่องฉายแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) เป็นเครื่องฉายที่มีประโยชน์ต่อการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้มากมีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย ปัจจุบันเครื่องแอลซีดีมีขนาดเล็กลงมากน้ำหนักเบา แต่มีความละเอียดและแสงสว่างมากขึ้น ราคาถูกลงกว่าเดิมมาก
                 2.4 เครื่องดีแอลพี
เครื่องดีแอลพี (DLP : Digital Light Processing) กิดานันท์มลิทอง ได้อธิบายถึงเครื่องดีแอลพีว่า เป็นเครื่องถ่ายทอดสัญญาณระบบดิจิทัล ลักษณะเดียวกับเครื่องแอลซีดีแต่มีความคมชัดสูงกว่า ให้ความคมชัดมากถึง 1280x1024 จุด

2. เครื่องเล่นวีดีทัศน์ (Video Player)

 เครื่องเล่นวีดีทัศน์ (Video Player) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเครื่องเล่นวิดีโอ เป็นเครื่องแปลงสัญญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัญญาณภาพและเสียงถ่ายทอดออกทางจอโทรทัศน์หรือผ่านเครื่องเล่นแอลซีดี เพื่อฉายภาพบนจอให้เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
มีหลายรูปแบบได้แก่
- แบบ U-Matic หรือ U-Vision เป็นเครื่องเล่นระดับกึ่งมืออาชีพ หรือใช้ในระดับสถาบันการศึกษาและในสถานีโทรทัศน์
- แบบ VHS (Video Home System) เป็นเครื่องเล่นที่ใช้คามบ้าน ราคาถูก บรรจุในตลับเทปที่สามารถเล่นได้นานแตกต่างกัน
- แบบ Betacam เป็นรูปแบบเฉพาะของบริษัทโซนี คุณภาพของภาพดี และมีขนาดตลับเล็กกว่าแบบVHS เล็กน้อย
- แบบ DV (Digital Videc) เป็นการบันทึกภาพและเสียงด้วยระบบดิจิตัลที่มีความคมชัดเหมือนต้นฉบับ เพราะไม่มีการสูญเสียสัญญาณระหว่างการบันทึกและตัดต่อ โดยการใช้สายฟายวาย ซึ่งเป็นสายเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณดิจิตัลกับดิจิตัลโดยตรง ปัจจุบันระบบดีวีกำลังได้รับความนิยมสูง
- แบบ Mini DV เป็นระบบการบันทึก และเล่นภาพและเสียงด้วยระบบดิจิตัลเหมือน กับแบบดีวี แต่มีขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า ใช้กับกล้องดิจิตัลขนาดเล็ก
3. เครื่องเล่นวีซีดี (VCD : Video Compact Disc)
                เครื่องเล่นวีซีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นซีดี ระบบดิจิตัล ที่บันทึกข้อมูลในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงแบบภาพวีดีทัศน์ เพื่อเสนอทางภาพจอโทรทัศน์
ข้อดี      1) คุณภาพของภาพบนแผ่นวีซีดีให้ความคมชัดภาพจากแถบวีดีทัศน์
                2) ไม่มีการยืดเหมือนแถบวีดีทัศน์
                3) เครื่องเล่นวีซีดีสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดีและวีซีดี
                4) ทำความสะอาดได้ง่ายหากเกิดความสกปรกบนแผ่น
4. เครื่องเล่นดีวีดี (DVD player)
                เครื่องเล่นดีวีดี เป็นเครื่องเล่นแผ่นดีวีดีระบบดิจิตัลเพื่อเสนอทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวแบบภาพวีดีทัศน์และเสียงเพื่อฉายบนจอโทรทัศน์
ข้อดี      1) คุณภาพของภาพบนแผ่นดีวีดีให้ความคมชัดมากโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแถบวีดีทัศน์
                2) ให้เสียงดอลปีเซอร์ราวด์ช่วยให้การชมภาพยนตร์มีชีวิตชีวามากขึ้น
                3) สามารถเลือกชมตอนใดของภาพก็ได้ ไม่ต้องเรียงตามเนื้อหา
                4) ไม่มีการยืดของแผ่นบันทึกเหมือนแถบเทป
                5) หากเกิดความสกปรกบนแผ่นสามารถทำความสะอาดได้โดยง่าย
                6) เครื่องเล่นสามารถเล่นได้ทั้งแผ่นซีดี แผ่นวีซีดี และแผ่นดีวีดี

3.เครื่องเสียง (Amplifiers)

3.1แหล่งกำเนิดเสียง
เสียง (Sound) เกิดจาการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็น
คลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง (Sound Wave) เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหูก้จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือนเสียงที่เราได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุ เสียงจากธรรมชาติ เป็นต้น
3.2ส่วนประกอบของการขยายเสียง
ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ
1)ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟน
ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงโดยอาศัยหลักการง่ายๆ คือ เมื่อคลื่นเสียงมากระทบ แผ่นสั่นสะเทือน (Diaphragm) ทำให้แผ่นสั่นสะเทือนสั่นความถี่และความแรงของคลื่นเสียง สัญญาณ จาการสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงทันที
2)ภาคขยายเสียง (Amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปยังลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก เครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อ
ส่งออกไปยังลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา กำลังขยายของเครื่องขยายเสียงเรียกเป็น วัตต์ (Watts)
ชนิดของเครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงพอจำแนกได้ 4 ชนิด คือ
1 เครื่องขยายเสียงหลอด เป็นเครื่องขยายเสียงแบบแรกที่สร้างขึ้นมาใช้ในการขยายเสียงให้มีเสียงดังมากๆ มีข้อดีที่บำรุงรักษาง่าย ทนทาน เสียงไม่ผิดเพี้ยน แต่มีข้อเสียที่ขนาดใหญ่ กินไฟมาก ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย
2 เครื่องขยายเสียงทรานซิสเตอร์ เป็นเครื่องขยายที่พัฒนามาใช้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายเสียงแทนหลอดสุญญากาศ ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ข้อเสียคือ ไม่ทนทาน เสียงจะเพี้ยนเมื่อเครื่องร้อนมาก
3 เครื่องขยายเสียงแบบผสม เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรผสมของหลอดสุญญากาศทำให้เหมาะสมกับการใช้งาน และทำให้มีคุณภาพดีขึ้น
4 เครื่องขยายเสียงแบบไฮบริดจ์  ไอ.ซี. เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรสำเร็จรูป ทำให้มีขนาดกะทัดรัด ดูแลรักษาง่าย แต่ค่อนข้างบอบบางกว่าแบบอื่นๆ และมีกำลังขยายไม่มากนัก
3)ภาคสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง
ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นเครื่องเสียงปัจจุบันนิยมใช้ลำโพงชนิดขดลวดแม่เหล็ก ซึ้งทำงานโดยใช้วิธีการเหนียวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เมื่อสัญญาณไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเสียงของลำโพง จะทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กในขดลวด อำนาจแม่เหล็กจะตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ติดอยู่ในลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า ทำให้อากาศด้านหน้ากรวยสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงขึ้น
ประเภทของลำโพง
                ลำโพงจำแนกตามสมบัติในเปล่งเสียงมี 4 ประเภท คือ
                1 ลำโพงเสียงทุ้มเป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงต่ำๆประมาณ 30-500 Hz มีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางของกรวยลำโพง 10 นิ้วขึ้นไป
                2 ลำโพงเสียงกลาง เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงปานกลางประมาณ 500-8000 Hz ลำโพงประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องเสียงที่ไม่ต้องการคุณภาพนัก
                3 ลำโพงเสียงแหลม เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงสูงประมาณ 10 – 20 KHz มีขนาดเล็ก
                4 ลำโพงกรวยซ้อน เป็นลำโพงที่ออกแบบพิเศษ โดยทำกรวยลำโพงซ้อนกัน 2-3ชั้น เพื่อในสามารถเปล่งเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันได้มากขึ้นในลำโพงตัวเดียว

สรุป

                  สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือโสตทัศนูปกรณ์ มีหน้าที่หลักคือ ใช้เนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และขยายเสียงให้ดังขึ้น จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง
                เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษา ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายดีวีดี เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องฉายได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
                เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง ต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์เครื่องฉายหรือเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และเครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น
                เครื่องเสียงมีหน้าที่รับเสียง ขยายเสียง และส่งออก ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญประกอบด้วย ภาคสัญญาณเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน ภาคขยายเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียง ภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพง