วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

3.เครื่องเสียง (Amplifiers)

3.1แหล่งกำเนิดเสียง
เสียง (Sound) เกิดจาการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็น
คลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง (Sound Wave) เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหูก้จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือนเสียงที่เราได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุ เสียงจากธรรมชาติ เป็นต้น
3.2ส่วนประกอบของการขยายเสียง
ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญมี 3 ส่วนคือ
1)ภาคสัญญาณเข้า (Input Signal) ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟน
ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงโดยอาศัยหลักการง่ายๆ คือ เมื่อคลื่นเสียงมากระทบ แผ่นสั่นสะเทือน (Diaphragm) ทำให้แผ่นสั่นสะเทือนสั่นความถี่และความแรงของคลื่นเสียง สัญญาณ จาการสั่นสะเทือนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าความถี่เสียงทันที
2)ภาคขยายเสียง (Amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปยังลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก เครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อ
ส่งออกไปยังลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา กำลังขยายของเครื่องขยายเสียงเรียกเป็น วัตต์ (Watts)
ชนิดของเครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงพอจำแนกได้ 4 ชนิด คือ
1 เครื่องขยายเสียงหลอด เป็นเครื่องขยายเสียงแบบแรกที่สร้างขึ้นมาใช้ในการขยายเสียงให้มีเสียงดังมากๆ มีข้อดีที่บำรุงรักษาง่าย ทนทาน เสียงไม่ผิดเพี้ยน แต่มีข้อเสียที่ขนาดใหญ่ กินไฟมาก ไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย
2 เครื่องขยายเสียงทรานซิสเตอร์ เป็นเครื่องขยายที่พัฒนามาใช้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายเสียงแทนหลอดสุญญากาศ ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ข้อเสียคือ ไม่ทนทาน เสียงจะเพี้ยนเมื่อเครื่องร้อนมาก
3 เครื่องขยายเสียงแบบผสม เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรผสมของหลอดสุญญากาศทำให้เหมาะสมกับการใช้งาน และทำให้มีคุณภาพดีขึ้น
4 เครื่องขยายเสียงแบบไฮบริดจ์  ไอ.ซี. เป็นเครื่องขยายเสียงที่มีวงจรสำเร็จรูป ทำให้มีขนาดกะทัดรัด ดูแลรักษาง่าย แต่ค่อนข้างบอบบางกว่าแบบอื่นๆ และมีกำลังขยายไม่มากนัก
3)ภาคสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง
ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นเครื่องเสียงปัจจุบันนิยมใช้ลำโพงชนิดขดลวดแม่เหล็ก ซึ้งทำงานโดยใช้วิธีการเหนียวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เมื่อสัญญาณไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเสียงของลำโพง จะทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กในขดลวด อำนาจแม่เหล็กจะตัดกับสนามแม่เหล็กถาวรที่ติดอยู่ในลำโพงทำให้ขดลวดเสียงเคลื่อนที่พาเอากรวยของลำโพงสั่นไปตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า ทำให้อากาศด้านหน้ากรวยสั่นสะเทือนเกิดเป็นเสียงขึ้น
ประเภทของลำโพง
                ลำโพงจำแนกตามสมบัติในเปล่งเสียงมี 4 ประเภท คือ
                1 ลำโพงเสียงทุ้มเป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงต่ำๆประมาณ 30-500 Hz มีขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางของกรวยลำโพง 10 นิ้วขึ้นไป
                2 ลำโพงเสียงกลาง เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงปานกลางประมาณ 500-8000 Hz ลำโพงประเภทนี้มีใช้ทั่วไปในเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องเสียงที่ไม่ต้องการคุณภาพนัก
                3 ลำโพงเสียงแหลม เป็นลำโพงที่มีความถี่เสียงสูงประมาณ 10 – 20 KHz มีขนาดเล็ก
                4 ลำโพงกรวยซ้อน เป็นลำโพงที่ออกแบบพิเศษ โดยทำกรวยลำโพงซ้อนกัน 2-3ชั้น เพื่อในสามารถเปล่งเสียงที่มีความถี่ต่างๆ กันได้มากขึ้นในลำโพงตัวเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น